วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครองของไทย


การเขียนโครงร่าง
1.ชื่อปัญหา  การเมืองการปกครองของไทย
2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ
3.วัตถุประสงค์
   1.การเมืองไทยในปัจจุบัน อยู่ในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐบาล และพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากอีกสองฝ่ายที่เหลือ การเลือกตั้งในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระบบหลายพรรค
4.ขอบเขต
ปัจจุบันการปกครองของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด
5.ระยะเวลาในการดำเนินการ
26  พฤศจิกายน  2555 ถึง............
6.อ้างอิง
^ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณงาม เง่าธรรมสาร, 2552, กระบวนการบูรณการรัฐชาติไทยกรณีจังหวัดชายแดนใต้: บทเรียนจากระบบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 6, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; สงขลา.
^ ส่องโลกปฏิบัติการเปี่ยมมนุษยธรรมในอิรัก. อ้างจาก วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนเมษายน 2547. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2553.

ปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน  80309
         1 .แนวคิด ประเด็นปัญหา และกรอบวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย
-  แนวคิดเกี่ยวกับระบบการเมืองไทย เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบการเมืองกับสภาพแวดล้อม
-  Almond และ Coleman เป็นคนเสนอว่าน่าจะใช้คำว่า ระบบการเมือง แทนคำว่ารัฐ
-  นักรัฐศาสตร์คนแรกที่นำทฤษฎีระบบมาใช้วิเคราะห์ระบบการเมือง ได้แก่ David Easton
-  ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ได้และไม่แตกสลาย ระบบจะต้องมีสมรรถนะ โดยเฉพาะสมรรถนะในการตอบสนองสภาพแวดล้อม
-  วัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นของโลก หมายถึง กาทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผล มิใช่เป็นเรื่องโชครางหรือความงมงาย
-  การปฏิวัติเขียว  หมายถึง  กระแสของอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อม
-  กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก คือ กลุ่ม Enviromentalism
-  ในทรรศนะของ  Kaplan  ระบบการเมืองที่เล็กที่สุด  คือ  โครงสร้างของกลุ่ม และหน่วยงานต่าง ๆ
-  David Truman ผู้ได้นำแนวคิดทางสังคมวิทยา และมนุษยวิทยามาอธิบายลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มในสังคมอเมริกัน
-  Arthur Bentley  เป็นบิดาของการศึกษารัฐศาสตร์แนวกลุ่ม
           2.  ปัญหาการเมืองไทยด้านระบบ
-  นักวิชาการเห็นว่าเงื่อนไขทางความมั่งคั่ง และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ
-  สังคมการเมืองไทยใช้ระบบการเมืองการปกครองแบบรัฐสภามาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
           3.  ปัญหาการเมืองในด้านโครงสร้าง และหน้าที่ 
-  สาเหตุของปัญหาการเมืองไทยด้านโครงสร้าง และหน้าที่สืบเนื่องมาจากลักษณะ และการพัฒนา ทางสังคม  การพัฒนาเศรษฐกิจ  และสภาพทางการเมือง
-  สภาวะที่มีการใช้การเมืองเพื่อประกอบธุรกิจทำให้ระบบการเมืองไทยมีลักษณะ วณิชยาธิปไตย
-  การขึ้นมามีอำนาจของจอมพล สฤษดิ์  มีผลต่อการเสื่อมอำนาจอิทธิพลของโครงสร้าง หรือ สถาบันทางการเมือง ได้แก่  ระบบราชการ
-  กลุ่มธุรกิจเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยเริ่มต้นช่วงปี 2511 2514
-  แนวทางการแก้ไขปัญหาของการเมืองไทยด้านโครงสร้าง และหน้าที่ สามารถแก้ไขโดย การพัฒนาโครงสร้างให้มีความเป็นสถาบัน
           

              4.  ปัญหาการเมืองไทยด้านการรวมกลุ่มทางการเมือง
-  กลุ่มทางการเมือง  หมายถึง  การรวมตัวเป็นกลุ่มของบุคคลที่มีเป้าหมายสาธารณะร่วมกัน
-  ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทางการเมือง และพรรคการเมืองที่สำคัญ คือ เรื่องความรับผิดชอบต่อการบริหารงานของรัฐบาล
-  ความสำคัญของกลุ่มทางการเมืองอยู่ที่การเป็นสถาบันที่สะท้อนถึงการมีสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
-  ระบบการเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการจัดตั้งกลุ่มทางการเมือง  คือ  ระบบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม
-  โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มได้  คือ  เศรษฐกิจทุนนิยม
-  โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเกษตรแบบเลี้ยงตัวเองได้หรือพออยู่พอกิน เป็นโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรวมกลุ่ม
-  การเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแต่ละท้องถิ่นตามความถนัดของแต่ละกลุ่ม เรียกว่า  
ยุทธศาสตร์ AFP
-  AIC   คือ   การประชุมร่วมกันของทั้งภาคราชการ   ภาคเอกชน   และภาคประชาชน
               5.  ปัญหาการเมืองไทยกับคอรัปชั่น  
-  ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเริ่มก่อตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
-  ผลกระทบของการคอรัปชั่นที่เห็นได้ชัดเจน คือ การทำให้การลงทุนภาครัฐมีค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง
-  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2518  ( ป.ป.ป. )
               6.  ปัญหาการเมืองไทยกับความยากจน
-  แผนพัฒนา ฯ ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจนเป็นครั้งแรก  คือ  แผนพัฒนา ฯ 5  
-  รัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนในเมืองตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 5
-  ความยากจนในชนบทได้รับความสนใจจากรัฐบาลประมาณปี 2524
-  เส้นความยากจนคำนวณขึ้นมาโดยใช้หลักการความจำเป็นหรือความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
-  ความยากจนสัมบูรณ์  คือ  ระดับความเป็นอยู่หรือรายได้ต่ำที่สุดที่บุคคลจะพึงมีเพื่อให้พ้นจากความยากจน
-  ความยากจนสัมพัทธ์  คือ  ความยากจนซึ่งยึดความเป็นอยู่โดยเปรียบเทียบของคนในประเทศหรือในสังคมเป็นหลัก
-  แหล่งเสื่อมโทรมมีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
-  รัฐบาลนายชวน   หลีกภัย มีนโยบายการพัฒนาคนจนในเมืองในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 8
-  รัฐบาลพลเอกเปรม  มีนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
-  รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์   ปราโมช ได้เกิดโครงการผันเงิน หรือโครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบท
-  สมัชชาคนจนเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ธ.ค.2538    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-  แผนพัฒนาชนบทเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเริ่มมีครั้งแรกในสมัยของ พลเอก เปรม
-  นโยบายลดอัตราการเพิ่มประชาชนกำหนดไว้ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 ถึง ฉบับที่ 7
-  การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนได้มีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมมากขึ้นในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8
           7.  ปัญหาการเมืองไทยกับสิทธิมนุษยชน    
-  รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ.1791 เป็นฉบับแรกของฝรั่งเศส
-  เพลโต  เชื่อว่ากฎธรรมชาติมีอยู่จริง
-  หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สันนิบาตเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกองค์การแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาสันติภาพของโลกโดยใช้ระบบความมั่นคงร่วมกัน
-  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิตามธรรมชาติ  ดังนั้นสิทธิอันดับแรกสุดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้แก่  สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่
-  ทฤษฎีทางชีววิทยาซึ่งเป็นหลักการวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่า  มนุษย์ทุกคนทุกเชื้อชาติในโลกถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหมด  คือ  อยู่ในอาณาจักรสัตว์
-  คำขวัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส  คือ  เสรีภาพ  เสมอภาค  ภราดรภาพ
-  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  กล่าวถึง  สิทธิ  เสรีภาพ  และความยุติธรรม
-  พระอัยการกบฏศึกเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์
-  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ปฏิบัติต่อขุนนางเยี่ยงทาส
-  สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประมวลกฎหมายขึ้น เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
-  กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 กฏหมายดังกล่าวได้ยกเลิกลักษณะความผิดและการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย
-  จุดเด่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  คือ  สื่อมวลชนมีเสรีภาพอย่างมาก
-  ในสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล  ป.  ได้มีการออกรัฐนิยม  12  ฉบับ  เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมสำหรับประชาชน
-  หน่วยงานที่จัดหางานให้คนพิการทำอย่างเป็นระบบและจริงจังก้คือ  องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
-  แนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินี้มีที่มาจากการส่งเสริมสนับสนุนของสหประชาชาติ

             8.  ปัญหาการเมืองไทยกับสิ่งแวดล้อม
-  ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4 ภาครัฐเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
-  ประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ได้รับความสำคัญเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญปี 2492
-  แผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะ 20 ปี ( พ.ศ.2540 – 2559 )
-  ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ก็คือ  ปัจจัยทางการเมือง
             9.  ปัญหาการเมืองไทยด้านกระบวนการทางการเมือง
-  โธมัส   ฮอบส์  เห็นว่าอำนาจในรัฐมาจากการทำสัญญาประชาคม ของทุกคนที่ร่วมก่อตั้งรัฐ
-  ฌอง  ช้าค  รุสโซ  มีทรรศนะว่า สภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสระ และความเสมอภาค ก็คือ สภาวะธรรมชาติ
-  แมคเคียเวลวี่  เป็นปราชญ์ทางการเมืองที่สนับสนุนการมีและใช้อำนาจของผู้ปกครองรัฐ
-  แนวคิดของแมคเคียเวลลี่  เป็นแนวคิดในลักษณะของการรวมอำนาจหรือให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง หรือชนชั้นนำ
-  จอห์น  ล็อค  เป็นนักปรัชญาการเมืองคนแรก ๆ ที่เสนอแนวคิดเชิงเสรีนิยมคัดค้านเผด็จการนิยมเบ็ดเสร็จ
-  ระบอบประชาธิปไตยพลังขับดันสำคัญที่สุดก็คือ คุณธรรม หรือการเสียสละ
-  การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองมีจุดเริ่มต้น จากอังกฤษ
-  การปฏิรูปการเมือง  คือ  การดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมืองทั้งระบบ
-  การปฏิรูปการเมืองของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2535 คือ การใช้แนวทางตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม
-  รัฐธรรมนูญนิยม คือ แนวความคิดที่ใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
              10.  ปัญหาการเมืองไทยด้านผู้นำทางการเมือง
-  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากตะวันตก คือ จากประเทศอังกฤษ
-  ร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ได้ชักชวนพรรคพวกรวมตัวเป็นสมาคม อาณาดิช และได้ก่อการกบฏ ร.ศ.130 ขึ้น
-  รัชกาลที่ 7 ทรงออกพระราชบัญญัติและโปรด ฯ แต่งตั้งสภากรรมการองคมนตรีขึ้น
-  ผู้นำทางการเมืองที่เป็นคนธรรมธัมโม  คือ  นายสัญญา   ธรรมศักดิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์   ปราโมช  จนได้รับสมญานามว่า เป็น ฤษีเลี้ยงลิง
-  ผู้นำในสังคมสันติประชาธรรม  คือ  ผู้นำที่รักสงบนิยม
-  Almond  และ  Powell ศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองในเชิง โครงสร้าง หน้าที่
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบ  ผู้นำทหารนิยม รัฐราชการนิยม ได้สืบทอดมาจนถึงยุค จอมพลถนอม
-  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี   ไทย  จีน  และญี่ปุ่น ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวัน
-  พันเอก พระยาพลพยุหเสนา นับเป็นนายกคนแรกของไทยที่เป็นทหาร แต่เป็นนายกคนที่ 2 ( คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา )
-  การเมืองไทยยุชาตินิยม  คือ  การเมืองในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
-  เขตกรุงเทพ ฯ มีพฤติกรรมการเลือกตั้ง ที่ชอบเกาะกระแส
-  วิกฤตทุนนิยม พ.ศ.2540 ทำให้ชนชั้นนำแตกเป็น 2 เสียง  คือ กลุ่มอุปถัมภ์ กับ กลุ่มเสรีนิยมใหม่
               11.  ปัญหาการเมืองไทยด้านวัฒนธรรมทางการเมือง
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยราชาธิปไตยเป็นแบบคับแคบ
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยอำมาตยาธิปไตยเป็นแบบไพร่ฟ้า
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยธนาธิปไตยเป็นแบบมีส่วนร่วม
-  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในแต่ละครั้ง  จะสร้างเชื้อมูลแห่งวัฒนธรรมทางการเมืองไทยใหม่ขึ้น
-  กระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางสังคมมีเนื้อหาอย่างใด วัฒนธรรมทางการเมืองจะมีแบบแผนอย่างนั้น
-  ยุคอำมาตยาธิปไตยเริ่มต้นขึ้นหลักจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
-  การเปลี่ยนแปลงทางารเมืองไทย เมื่อปี 2516 นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของธนาธิปไตยในปัจจุบัน
-  วัฎจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างส่วนร่างก่อน
-  กระบวนการทางเมืองของไทยในปัจจุบันเป็นแบบมีส่วนร่วม
-  14 ต.ค.16  เป็นปีแห่งการสิ้นสุดของการปกครองแบบอำมาตยาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ
-  นับตั้งแต่ปี 2516 ไทยได้เข้าสู่ยุคธนาธิปไตย
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าเริ่มในรัชกาลที่ 7
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม  เป็นการส่งเสริมให้การเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตยได้
                   12.  ปัญหาการเมืองไทยกับเศรษฐกิจ
-  โครงสร้างสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่  โครงสร้างตามสาขาการผลิต และโครงสร้างตามการค้าระหว่างประเทศ
-  ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศประสบปัญหาเสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน  สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากขาดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สมดุล
-  การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกว้าง ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก อย่างลึกซึ้ง
-  ตัวระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลมักจะปล่อยให้กลไกทางเศรษฐกิจสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระ
โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น
-  การขาดแคลนเงินทุนเป็นปัญหาจากการมีเงินออมภายในชาติต่ำ
-  สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย  ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ นิกส์
-  สถาบันการเงินแรกสุดก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2509
-  ปัญหารุนแรงของสถาบันการเงินครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2522
-  ธนาคารแห่งประเทศไทยให้การช่วยเหลือบริษัทเงินทุนอีก 25 แห่ง  ตามโครวการที่เรียกว่า  ทริสต์     4 เม.ย.2527
-  แนวทางพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนปี  2533
ได้มีการบรรจุแนวคิดนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 6
-  การเร่งรัดพัฒนาประเทศตามแนวประเทศตะวันตกเริ่มแรกตั้งแต่ปี 2504 ภายใต้แผนพัฒนา ฯ
ฉบับที่ 1
-  ประเด็นปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนถูกยกมาเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากขึ้นในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4
               13.  ปัญหาการเมืองไทยกับกฎหมาย
-  นิติรัฐ  หมายถึง  รัฐที่เคารพกฎหมาย
-  การแบ่งแยกอำนาจเป็นแนวความคิดของ  มองเตสกิเออ
-  กลไกการเมืองที่ส่งผ่านเจตนารมณ์ประชาชน  ได้แก่  พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง
-  กฎมณเฑียรบาลถือเป็นกฎหมายชนิดพิเศษ เป็นกฏหมายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการของพระมหากษัตริย์
-  กฎมณเฑียรบาลนั้นการตราขึ้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
-  วุฒิสภา  มี สมาชิกจำนวน  200  คน
-  สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง และอายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ  6  ปี
-  พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร มีฐานะเท่ากับ พระราชบัญญัติ
-  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง  9  ปี  ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
-  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  วาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  ได้วาระเดียว
-  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน วาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  ได้วาระเดียว
                  14.  ปัญหาการเมืองไทยกับความมั่นคง   
-  ปัญหาความไม่มั่นคงของระบบการเมืองไทยมีปัญหาในเรื่อง ความไม่มีเสถียรภาพ และความชอบธรรมทางการเมือง
-  สถาบันบริหารที่สำคัญ  คือ  รัฐบาล และระบบราชการ
                  15.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับพลวัตรการเมืองไทย
-  พลวัตรการเมือง  หมายถึง  การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมของประเทศ