วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครองของไทย


                                                                                       
รายงาน
เรื่องการเมืองการปกครองของไทย
จัดทำโดย
นางสาวยอน  น้อยคำ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓      เลขที่ ๓๔
เสนอ
ครูหอมไกร
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและสร้างองศ์ความรู้(Is2)
ภาคเรียนที่ ๒           ปีการศึกษา ๒๕๕๕
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต34
 บทนำ
รัฐ หรือ รัฐอธิปไตย คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น
การเมือง หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือเรื่องเกี่ยวกับการแสวงหาอำนาจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม
การปกครอง หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับการบริหารวางระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับสังคมเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข หรือเพื่อให้เกิดการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
กฎหมายคือ กฎอันมีที่มาจากการตราขึ้นโดยสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
แฟ้มสะสมงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา สังคมศึกษาพื้นฐาน ( 43101) ข้าพเจ้าศึกษาเรื่องเกี่ยวกับรัฐ การเมืองการปกครอง และกฎหมาย เพื่อให้ทราบความหมายและสามารถใช้ได้จริงชีวิต โดยเป็นการเก็บรวบรวมเป็นแฟ้มสะสมงานขึ้นมาจากการค้นคว้าศึกษาเรื่องดังกล่าว ซึ่งข้าพเจ้าก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แฟ้มสะสมงานเล่มนี้คงสามารถให้คำตอบ เรื่องความรู้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อย
หากแฟ้มสะสมงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย










การเมืองการปกครองของไทย
ปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน  80309
         1 .แนวคิด ประเด็นปัญหา และกรอบวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย
-  แนวคิดเกี่ยวกับระบบการเมืองไทย เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบการเมืองกับสภาพแวดล้อม
Almond และ Coleman เป็นคนเสนอว่าน่าจะใช้คำว่า ระบบการเมือง แทนคำว่ารัฐ
-  นักรัฐศาสตร์คนแรกที่นำทฤษฎีระบบมาใช้วิเคราะห์ระบบการเมือง ได้แก่ David Easton
ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ได้และไม่แตกสลาย ระบบจะต้องมีสมรรถนะ โดยเฉพาะสมรรถนะในการตอบสนองสภาพแวดล้อม
-  วัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นของโลก หมายถึง กาทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผล มิใช่เป็นเรื่องโชครางหรือความงมงาย
-  การปฏิวัติเขียว  หมายถึง  กระแสของอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อม
-  กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก คือ กลุ่ม Enviromentalism
-  ในทรรศนะของ  Kaplan  ระบบการเมืองที่เล็กที่สุด  คือ  โครงสร้างของกลุ่ม และหน่วยงานต่าง ๆ
David Truman ผู้ได้นำแนวคิดทางสังคมวิทยา และมนุษยวิทยามาอธิบายลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มในสังคมอเมริกัน
Arthur Bentley  เป็นบิดาของการศึกษารัฐศาสตร์แนวกลุ่ม
           2.  ปัญหาการเมืองไทยด้านระบบ
-  นักวิชาการเห็นว่าเงื่อนไขทางความมั่งคั่ง และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ
-  สังคมการเมืองไทยใช้ระบบการเมืองการปกครองแบบรัฐสภามาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
           3.  ปัญหาการเมืองในด้านโครงสร้าง และหน้าที่ 
-  สาเหตุของปัญหาการเมืองไทยด้านโครงสร้าง และหน้าที่สืบเนื่องมาจากลักษณะ และการพัฒนา ทางสังคม  การพัฒนาเศรษฐกิจ  และสภาพทางการเมือง
-  สภาวะที่มีการใช้การเมืองเพื่อประกอบธุรกิจทำให้ระบบการเมืองไทยมีลักษณะ วณิชยาธิปไตย
-  การขึ้นมามีอำนาจของจอมพล สฤษดิ์  มีผลต่อการเสื่อมอำนาจอิทธิพลของโครงสร้าง หรือ สถาบันทางการเมือง ได้แก่  ระบบราชการ
-  กลุ่มธุรกิจเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยเริ่มต้นช่วงปี 2511 2514
-  แนวทางการแก้ไขปัญหาของการเมืองไทยด้านโครงสร้าง และหน้าที่ สามารถแก้ไขโดย การพัฒนาโครงสร้างให้มีความเป็นสถาบัน
           
                4.  ปัญหาการเมืองไทยด้านการรวมกลุ่มทางการเมือง
-  กลุ่มทางการเมือง  หมายถึง  การรวมตัวเป็นกลุ่มของบุคคลที่มีเป้าหมายสาธารณะร่วมกัน
-  ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทางการเมือง และพรรคการเมืองที่สำคัญ คือ เรื่องความรับผิดชอบต่อการบริหารงานของรัฐบาล
-  ความสำคัญของกลุ่มทางการเมืองอยู่ที่การเป็นสถาบันที่สะท้อนถึงการมีสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
-  ระบบการเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการจัดตั้งกลุ่มทางการเมือง  คือ  ระบบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม
-  โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มได้  คือ  เศรษฐกิจทุนนิยม
-  โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเกษตรแบบเลี้ยงตัวเองได้หรือพออยู่พอกิน เป็นโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรวมกลุ่ม
-  การเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแต่ละท้องถิ่นตามความถนัดของแต่ละกลุ่ม เรียกว่า  
ยุทธศาสตร์ AFP
AIC   คือ   การประชุมร่วมกันของทั้งภาคราชการ   ภาคเอกชน   และภาคประชาชน
               5.  ปัญหาการเมืองไทยกับคอรัปชั่น  
-  ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเริ่มก่อตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
-  ผลกระทบของการคอรัปชั่นที่เห็นได้ชัดเจน คือ การทำให้การลงทุนภาครัฐมีค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง
-  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2518  ( ป.ป.ป. )
               6.  ปัญหาการเมืองไทยกับความยากจน
-  แผนพัฒนา ฯ ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจนเป็นครั้งแรก  คือ  แผนพัฒนา ฯ 5 
-  รัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนในเมืองตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 5
-  ความยากจนในชนบทได้รับความสนใจจากรัฐบาลประมาณปี 2524
-  เส้นความยากจนคำนวณขึ้นมาโดยใช้หลักการความจำเป็นหรือความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
-  ความยากจนสัมบูรณ์  คือ  ระดับความเป็นอยู่หรือรายได้ต่ำที่สุดที่บุคคลจะพึงมีเพื่อให้พ้นจากความยากจน
-  ความยากจนสัมพัทธ์  คือ  ความยากจนซึ่งยึดความเป็นอยู่โดยเปรียบเทียบของคนในประเทศหรือในสังคมเป็นหลัก
-  แหล่งเสื่อมโทรมมีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
-  รัฐบาลนายชวน   หลีกภัย มีนโยบายการพัฒนาคนจนในเมืองในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 8
-  รัฐบาลพลเอกเปรม  มีนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
-  รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์   ปราโมช ได้เกิดโครงการผันเงิน หรือโครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบท
-  สมัชชาคนจนเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ธ.ค.2538  ณ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-  แผนพัฒนาชนบทเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเริ่มมีครั้งแรกในสมัยของ พลเอก เปรม
-  นโยบายลดอัตราการเพิ่มประชาชนกำหนดไว้ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 ถึง ฉบับที่ 7
-  การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนได้มีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมมากขึ้นในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8
           7.  ปัญหาการเมืองไทยกับสิทธิมนุษยชน    
-  รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ.1791 เป็นฉบับแรกของฝรั่งเศส
-  เพลโต  เชื่อว่ากฎธรรมชาติมีอยู่จริง
-  หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สันนิบาตเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกองค์การแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาสันติภาพของโลกโดยใช้ระบบความมั่นคงร่วมกัน
-  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิตามธรรมชาติ  ดังนั้นสิทธิอันดับแรกสุดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้แก่  สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่
-  ทฤษฎีทางชีววิทยาซึ่งเป็นหลักการวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่า  มนุษย์ทุกคนทุกเชื้อชาติในโลกถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหมด  คือ  อยู่ในอาณาจักรสัตว์
-  คำขวัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส  คือ  เสรีภาพ  เสมอภาค  ภราดรภาพ
-  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  กล่าวถึง  สิทธิ  เสรีภาพ  และความยุติธรรม
-  พระอัยการกบฏศึกเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์
-  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ปฏิบัติต่อขุนนางเยี่ยงทาส
-  สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประมวลกฎหมายขึ้น เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
-  กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 กฏหมายดังกล่าวได้ยกเลิกลักษณะความผิดและการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย
-  จุดเด่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  คือ  สื่อมวลชนมีเสรีภาพอย่างมาก
-  ในสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล  ป.  ได้มีการออกรัฐนิยม  12  ฉบับ  เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมสำหรับประชาชน
-  หน่วยงานที่จัดหางานให้คนพิการทำอย่างเป็นระบบและจริงจังก้คือ  องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
-  แนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินี้มีที่มาจากการส่งเสริมสนับสนุนของสหประชาชาติ

             8.  ปัญหาการเมืองไทยกับสิ่งแวดล้อม
-  ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4 ภาครัฐเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
-  ประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ได้รับความสำคัญเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญปี 2492
-  แผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะ 20 ปี ( พ.ศ.2540 – 2559 )
-  ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ก็คือ  ปัจจัยทางการเมือง
           




             9.  ปัญหาการเมืองไทยด้านกระบวนการทางการเมือง
-  โธมัส   ฮอบส์  เห็นว่าอำนาจในรัฐมาจากการทำสัญญาประชาคม ของทุกคนที่ร่วมก่อตั้งรัฐ
-  ฌอง  ช้าค  รุสโซ  มีทรรศนะว่า สภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสระ และความเสมอภาค ก็คือ สภาวะธรรมชาติ
-  แมคเคียเวลวี่  เป็นปราชญ์ทางการเมืองที่สนับสนุนการมีและใช้อำนาจของผู้ปกครองรัฐ
-  แนวคิดของแมคเคียเวลลี่  เป็นแนวคิดในลักษณะของการรวมอำนาจหรือให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง หรือชนชั้นนำ
-  จอห์น  ล็อค  เป็นนักปรัชญาการเมืองคนแรก ๆ ที่เสนอแนวคิดเชิงเสรีนิยมคัดค้านเผด็จการนิยมเบ็ดเสร็จ
-  ระบอบประชาธิปไตยพลังขับดันสำคัญที่สุดก็คือ คุณธรรม หรือการเสียสละ
-  การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองมีจุดเริ่มต้น จากอังกฤษ
-  การปฏิรูปการเมือง  คือ  การดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมืองทั้งระบบ
-  การปฏิรูปการเมืองของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2535 คือ การใช้แนวทางตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม
-  รัฐธรรมนูญนิยม คือ แนวความคิดที่ใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
              10.  ปัญหาการเมืองไทยด้านผู้นำทางการเมือง
-  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากตะวันตก คือ จากประเทศอังกฤษ
-  ร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ได้ชักชวนพรรคพวกรวมตัวเป็นสมาคม อาณาดิช และได้ก่อการกบฏ ร.ศ.130 ขึ้น
-  รัชกาลที่ 7 ทรงออกพระราชบัญญัติและโปรด ฯ แต่งตั้งสภากรรมการองคมนตรีขึ้น                          
-  ผู้นำทางการเมืองที่เป็นคนธรรมธัมโม  คือ  นายสัญญา   ธรรมศักดิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์   ปราโมช  จนได้รับสมญานามว่า เป็น ฤษีเลี้ยงลิง
-  ผู้นำในสังคมสันติประชาธรรม  คือ  ผู้นำที่รักสงบนิยม
Almond  และ  Powell ศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองในเชิง โครงสร้าง หน้าที่
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบ  ผู้นำทหารนิยม รัฐราชการนิยม ได้สืบทอดมาจนถึงยุค จอมพลถนอม
-  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี   ไทย  จีน  และญี่ปุ่น ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวัน
-  พันเอก พระยาพลพยุหเสนา นับเป็นนายกคนแรกของไทยที่เป็นทหาร แต่เป็นนายกคนที่ 2 ( คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา )
-  การเมืองไทยยุชาตินิยม  คือ  การเมืองในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
-  เขตกรุงเทพ ฯ มีพฤติกรรมการเลือกตั้ง ที่ชอบเกาะกระแส
-  วิกฤตทุนนิยม พ.ศ.2540 ทำให้ชนชั้นนำแตกเป็น 2 เสียง  คือ กลุ่มอุปถัมภ์ กับ กลุ่มเสรีนิยมใหม่
                                   



 11.  ปัญหาการเมืองไทยด้านวัฒนธรรมทางการเมือง
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยราชาธิปไตยเป็นแบบคับแคบ
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยอำมาตยาธิปไตยเป็นแบบไพร่ฟ้า
-  วัฒนธรรมทางการเมืองไทยในสมัยธนาธิปไตยเป็นแบบมีส่วนร่วม
-  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในแต่ละครั้ง  จะสร้างเชื้อมูลแห่งวัฒนธรรมทางการเมืองไทยใหม่ขึ้น
-  กระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางสังคมมีเนื้อหาอย่างใด วัฒนธรรมทางการเมืองจะมีแบบแผนอย่างนั้น
-  ยุคอำมาตยาธิปไตยเริ่มต้นขึ้นหลักจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
-  การเปลี่ยนแปลงทางารเมืองไทย เมื่อปี 2516 นั้น เป็นจุดเริ่มต้นของธนาธิปไตยในปัจจุบัน
-  วัฎจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างส่วนร่างก่อน
-  กระบวนการทางเมืองของไทยในปัจจุบันเป็นแบบมีส่วนร่วม
14 ต.ค.16  เป็นปีแห่งการสิ้นสุดของการปกครองแบบอำมาตยาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ
-  นับตั้งแต่ปี 2516 ไทยได้เข้าสู่ยุคธนาธิปไตย
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าเริ่มในรัชกาลที่ 7
-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม  เป็นการส่งเสริมให้การเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตยได้
                   12.  ปัญหาการเมืองไทยกับเศรษฐกิจ
-  โครงสร้างสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่  โครงสร้างตามสาขาการผลิต และโครงสร้างตามการค้าระหว่างประเทศ
-  ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศประสบปัญหาเสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน  สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากขาดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สมดุล
-  การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกว้าง ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก อย่างลึกซึ้ง
-  ตัวระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลมักจะปล่อยให้กลไกทางเศรษฐกิจสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระ
โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น
-  การขาดแคลนเงินทุนเป็นปัญหาจากการมีเงินออมภายในชาติต่ำ
-  สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย  ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ นิกส์
-  สถาบันการเงินแรกสุดก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2509
-  ปัญหารุนแรงของสถาบันการเงินครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2522
-  ธนาคารแห่งประเทศไทยให้การช่วยเหลือบริษัทเงินทุนอีก 25 แห่ง  ตามโครวการที่เรียกว่า  ทริสต์     4 เม.ย.2527
-  แนวทางพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนปี  2533
ได้มีการบรรจุแนวคิดนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 6
-  การเร่งรัดพัฒนาประเทศตามแนวประเทศตะวันตกเริ่มแรกตั้งแต่ปี 2504 ภายใต้แผนพัฒนา ฯ
ฉบับที่ 1
-  ประเด็นปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนถูกยกมาเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากขึ้นในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4
               13.  ปัญหาการเมืองไทยกับกฎหมาย
-  นิติรัฐ  หมายถึง  รัฐที่เคารพกฎหมาย
-  การแบ่งแยกอำนาจเป็นแนวความคิดของ  มองเตสกิเออ
-  กลไกการเมืองที่ส่งผ่านเจตนารมณ์ประชาชน  ได้แก่  พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง
-  กฎมณเฑียรบาลถือเป็นกฎหมายชนิดพิเศษ เป็นกฏหมายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการของพระมหากษัตริย์
-  กฎมณเฑียรบาลนั้นการตราขึ้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
-  วุฒิสภา  มี สมาชิกจำนวน  200  คน                                                                                               
-  สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง และอายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ  6  ปี
-  พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร มีฐานะเท่ากับ พระราชบัญญัติ
-  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง  ปี  ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
-  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  วาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  ได้วาระเดียว
-  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน วาระการดำรงตำแหน่ง  ปี  ได้วาระเดียว
                  14.  ปัญหาการเมืองไทยกับความมั่นคง   
-  ปัญหาความไม่มั่นคงของระบบการเมืองไทยมีปัญหาในเรื่อง ความไม่มีเสถียรภาพ และความชอบธรรมทางการเมือง
-  สถาบันบริหารที่สำคัญ  คือ  รัฐบาล และระบบราชการ
                  15.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับพลวัตรการเมืองไทย
-  พลวัตรการเมือง  หมายถึง  การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมของประเทศ












การเมืองไทย
การเมืองไทยในปัจจุบัน อยู่ในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐบาล และพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากอีกสองฝ่ายที่เหลือ การเลือกตั้งในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระบบหลายพรรค
ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตุลาการ มีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ เป็นองค์กรที่มีอำนาจพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายไทย ส่วนใหญ่ ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองอยู่ในระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้ง "รัฐบาลผสม" ปกครองประเทศ
ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังคงมีการต่อสู่ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยมีการก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเหล่า นับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 18 ฉบับ (นับฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังจากรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว
รัฐธรรมนูญ

1.บทความหลักที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยประดิษฐานรูปเล่มรัฐธรรมนูญบนพานแว่นฟ้า
ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และเป็นประมุขฝ่ายบริหารเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับเขียนได้มีการประกาศใช้ โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กฎบัตรและรัฐธรรมนูญทั้งหมดของประเทศไทยได้ให้การรับรองว่าประเทศอยู่ภายใต้การปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมากในสมดุลของการแบ่งแยกอำนาจ รัฐบาลไทยส่วนใหญ่ปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูบางฉบับได้ถูกเรียกว่าเป็นเผด็จการ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2500 ประเทศไทยได้เคยใช้ทั้งระบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ และสมาชิกรัฐสภามีทั้งแบบเลือกตั้งและแต่งตั้ง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเช่นกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ได้มีการประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นต้นเหตุของความยุ่งยากทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ[1] เช่นเดียวกับความเป็นประชาธิปไตยในตัวกฎหมาย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สิทธิมนุษยชนจำนวนมากได้รับการรับรองตามกฎหมาย และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิก คณะรัฐประหารได้ประกาศกฎอัยการศึกและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นปกครองประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาให้คณะรัฐประหารมีอำนาจที่จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายนิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด การปะทะและการชุมนุมทางการเมืองได้เกิดขึ้นอยู่บ้าง และการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศทางการเมือง คณะรัฐประหารถูกบีบบังคับให้ยินยอมที่จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นและเทศบาลเป็นปกติ ในปี พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการประกาศใช้ แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาจากคณะรัฐประหารและเป็นเผด็จการอยู่มาก

2.รัฐบาล
2.1บทความหลักที่ รัฐบาลไทย
ห้องประชุมอาคารรัฐสภา
รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ[2] แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
รัฐสภาไทยเป็นองค์กรบริหารอำนาจนิติบัญญัติ เป็นแบบระบบสองสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกรวมกัน 500 คน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน รวมกันไม่เกิน 36 คน ส่วนศาลไทยเป็นองค์กรบริหารอำนาจตุลาการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร






3.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.1 บทความหลักที่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย
นโยบายการต่างประเทศของไทยรวมไปถึงการสนับสนุนอาเซียน เน้นเสถียรภาพในภูมิภาค และให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพอันยาวนานกับสหรัฐอเมริกา
ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทเต็มในองค์กรทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ โดยได้พัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการจัดการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงเศรษฐกิจทุกปี ความร่วมมือในภูมิภาคกำลังดำเนินการทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การเมืองและวัฒนธรรม ประเทศไทยยังได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก, อัฟกานิสถาน, อิรัก[3], บุรุนดี[4] และปัจจุบัน ในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน[5] อีกด้วย
4.พรรคการเมือง
ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองอยู่ในระบบหลายพรรค กล่าวคือ มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องอาศัยพรรคการเมืองหลายพรรคที่เรียกว่า "รัฐบาลผสม" ยกเว้นสมัยที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งพบว่ารัฐบาลครองเสียงข้างมากในสภาจนไม่จำเป็นต้องอาศัยพรรคร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด พรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย เป็นต้น

5.ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่น ราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปในสมัยขุนหลวงพะงั่ว[6]
อย่างไรก็ตาม อาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบายต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้[6] จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครอง[6] ซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทน[7] ซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย
ต่อมาได้มี การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์"[8] เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและข้าราชการ[8]
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้น[9] ซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง[9]

6.รัฐประหารและกบฏในประเทศไทย
กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) โดย คณะ 130 นำโดย ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์)
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร เพื่อให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า
กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482) มี พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหัวหน้า
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดย นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
กบฏ พ.ศ. 2507 โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520) โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

7.การลุกฮือของประชาชน การต่อต้าน การชุมนุมทางการเมือง
กบฏสันติภาพ พ.ศ. 2495 (ไม่มีผู้เสียชีวิต)
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ "วันมหาวิปโยค" (มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก)
เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 (มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ศพ บาดเจ็บและสูญหายอีกจำนวนมาก)
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน)
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 (ผู้เสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บ 381 คน)
เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือ "สงกรานต์เลือด" (ผู้เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บ 120 คน)
การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หรือ "พฤษภาอำมหิต" (ผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,100 คน)










การปกครองของไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ
เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก
และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้
1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
2. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี
3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง

การปกครองของไทยในปัจจุบัน
ได้มีการปรับปรุงกระทรวงต่าง ๆ ขึ้นใหม่ และได้จัดตั้งระบบการบริหารงานของสถาบันการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงทบวงกรมต่างๆ และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า
2. ส่วนภูมิภาค
ประกอบด้วย 75 จังหวัด (อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน)


3. ส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น
- เทศบาล (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล)
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล

หลักในการแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ ทางการปกครอง ได้แบ่งภูมิภาคต่าง ๆ โดยถือหลักเกณฑ์ลักษณะทางกายภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นบรรทัดฐานไว้ 5 ภาค ดังนี้

ภาคกลาง ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง รวม 18 จังหวัด

ภาคตะวันออก ประกอบด้วย จ.จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว รวม 7 จังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกต สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี รวม 19 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย จ.กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 14 จังหวัด
ภาคเหนือ ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รวม 17 จังหวัด









บรรณานุกรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/wiki/การเมืองไทย
http://members.tripod.com/78_2/now.htm















2 ความคิดเห็น:

  1. ขอโทดเรา เรียน กศน เค้ามีให้ทำรายงานเล่ม เรื่องการเมืองการปกครอง คือแบบที่เธอเอามาลงเลยใช้ไหทอ้
    ะคะ

    ตอบลบ
  2. Lucky Club Online Casino Site Review 2021 - Lucky Club
    Lucky Club is one of the best casinos online. With this gambling site you'll be able to luckyclub gamble at the best online casinos in the world. Rating: 5 · ‎Review by LuckyClub.live

    ตอบลบ